User talk:Kongkham6211

From Wikispecies
Jump to navigation Jump to search
 สัตว์ในป่าเขตร้อน
(  Animals of the Tropical Forest  )

พื้นที่ใกล้กับเส้นศูนย์สูตรจะเป็นพื้นที่ที่มีฝนตกชุกและแสงอาทิตย์ที่สดใส เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดป่าดิบชื้น เป็นถิ่นที่อยู่ที่มีอายุยาวนานและซับซ้อนมากที่สุดเมื่อเทียบกับถิ่นที่อยู่แบบอื่นๆ ที่มีบนพื้นโลก ความหลากหลายของต้นไม้และสัตว์ป่ามีสูง โดยมีนักวิทยาศาสตร์ให้ความเห็นว่าชนิดพืชและสัตว์ ที่มีถิ่นที่อยู่ในป่าดิบชื้นคิดเป็นประมาณร้อยละ 90 ของชนิดพืชและสัตว์ที่มีอยู่ในโลก นอกจากนั้นการศึกษาในด้านชีววิทยาของพืชและสัตว์เหล่านี้ยังมีน้อยมาก

ชนิดของสัตว์ตามระดับความสูงของต้นไม้ในพื้นป่าเขตร้อน ( Layers of the Tropical Forest )[edit]

        ในพื้นที่ป่าเขตร้อนหากจะแบ่งพื้นที่ในแนวตั้ง  ตามระดับความสูงของต้นไม้  จะสามารถแบ่งได้หลายชั้นโดยแต่ละชั้นจะมีลักษณะของตัวเอง  ชั้นสูงสุดคือ  ชั้นอยู่เหนือเรือนยอด  ( Upper canopy )  เป็นกลุ่มของต้นไม้ที่มีความสูงที่สุดในพื้นป่า

==== ชั้นเรือนยอด ( Canopy ) ==== จะเป็นส่วนที่มีแสงแดด อากาศโปร่ง มีส่วนของเรือนยอดที่สูงกว่าต้นไม้ทั่วไป ( emergent tree ) มีความสูงประมาณ 60 เมตร สัตว์ที่อยู่ในบริเวณนี้จะเป็นชนิดของนกบินไปมาและสัตว์ที่ปีนป่ายตามต้นไม้ เช่น นกอินทรี นกแก้วมอคอว์ ลิง สโลท ( sloths ) และสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ==== ชั้นใต้เรือนยอด ( ชั้นใต้ร่มใบ Below canopy ) = === ลงมาจะมีความหนาแน่นของใบไม้ลดลง ยังเรียกชั้นนี้ว่า ชั้นไม้พุ่ม ( Shrub layer , Under story , Lower canopy ) ซึ่งจะประกอบต้นไม้ที่อายุยังน้อย ที่กำลังเจริญเติบโตเพิ่มความสูงของลำต้นเพื่อไปรับแสงแดด และกลุ่มชนิดต้นไม้ที่สมบูรณ์เต็มที่แต่ต้องการแสงแดดไม่มาก ( mature semi - shade tolerant tree ) สัตว์ที่อยู่ในชั้นระดับความสูงนี้ เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดตั้งแต่กระรอก ไปจนถึงลิงชิมแพนซี และสัตว์เลื้อยคลาน เช่น งูอีเมอร์ราลทรีบัว ( emerald tree boa ) และงูกลุ่มไวเปอร์ ( Viper.)

     มีสัตว์หลายชนิด เช่น ค้างคาว  สโลทที่เคลื่อนย้ายไปมาระหว่างชั้นเหนือเรือนยอดและชั้นใต้เรือนยอด  ต้นไม้ที่อยู่ชั้นไม้พุ่ม (  Under story )  ลงมาจะเป็นพวกไม้ที่ยังออกจากเมล็ดใหม่ๆ  หรือไม้พุ่มที่ต้องการแสงน้อย ( Shade – tolerent  shrubs )  

==== ชั้นป่าระดับพื้นดิน ( Florest floor ) = === ที่พื้นดินจะมีใบไม้ที่ร่วงลงมาปกคลุมดินไว้ และมีการเน่าเปื่อยอย่างรวดเร็ว แมลงจะพบในทุกระดับชั้นของป่าโดยมีจำนวนเป็นหลายล้านตัว ตั้งแต่มดไปถึงแมลงปีกแข็งที่อยู่บนพื้นดิน มีสัตว์ผู้ล่าขนาดใหญ่ เช่น เสือจากัวร์ เสือดาวที่อยู่บนต้นไม้และจะลงมาที่พื้นดินเพื่อล่าเหยื่อ

ป่าเขตร้อน ( Tropical Forest )[edit]

ป่าเขตร้อนจะพบในทวีปอเมริกากลางและใต้ ทวีปแอฟริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลียและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก พื้นที่ป่าเขตร้อนที่ใหญ่ที่สุดอยู่ในบริเวณรอบ ๆ แม่น้ำอะเมซอนในบริเวณภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศบราซิลและประเทศใกล้เคียง ครอบคลุมพื้นที่เกือบ ๆ เท่ากับประเทศสหรัฐอเมริกา

ความอุดมสมบูรณ์ของป่าเขตร้อน ( An Abundance of Life )[edit]

เมื่อเราเดินผ่านเข้าไปในป่าเขตร้อนแห่งหนึ่งในโลก ซึ่งต้นไม้จะขึ้นกันหนาแน่นและสูงท่วมศีรษะ เรือนยอดของต้นไม้จะบดบังแสงอาทิตย์ที่ส่องผ่านลงมาที่พื้นดิน ใต้ร่มไม้สูงลงมาเราจะเห็นต้นไม้ยืนต้นขนาดย่อมและต้นปาล์มชูลำต้น กิ่งก้านใบเพื่อรับแสงแดด มีแมลงบินว่อนอยู่ทั่วไป น้ำฝนที่ค้างอยู่ตามใบไม้หล่นลงมาที่พื้นดินเป็นหยดๆ ไม้เลื้อย กล้วยไม้ มอส เฟิร์นเจริญเติบโตบนเปลือกไม้ของต้นไม้ขนาดใหญ่

         คุณจะได้ยินเสียงร้องของสัตว์ป่าโดยไม่เห็นตัวดังแว่วมา  อาจเป็นเสียงร้องของลิงหรือนก เช่น นกแก้วมาคอว์  หรือเบิร์ดออฟพาราไดซ์ที่มีสีสันสดใสตัดกับสีของใบไม้  แมลงหรืองูบางชนิดที่สีสันสดใสตัดกับสีของเปลือกไม้
         สัตว์หลายชนิดในป่าเขตร้อนจะอยู่บนต้นไม้ตลอดเวลาไม่ลงมาที่พื้นดิน  ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาชีวิตสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่บนเรือนยอดของพื้นป่า  โดยการใช้วิธีเคลื่อนที่แบบการไต่เชือกของนักปีนเขา  ซึ่งช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เหล่านั้นสามารถเคลื่อนที่ผ่านป่าที่มีความหนาแน่นของต้นไม้ในป่าดิบชื้นไปได้    

สิ่งมีชีวิตในบรอมีเลียด ( Life in a Bromeliad )[edit]

         บรอมีเลียดเป็นชื่อสามัญของพืชในวงศ์สับปะรด ( Pine  apple family)  เป็นพืชล้มลุก  ไม้พุ่มขนาดเล็ก  โดยพบในป่าเขตร้อนของทวีปอเมริกา บรอมีเลียดส่วนใหญ่จะขึ้นบนต้นไม้หรือพืชชนิดอื่น โดยดูดซับความชื้นจากอากาศและรับน้ำที่ไหลลงตามลำต้นและกิ่งก้าน

ลักษณะจำเพาะของบรอมีเลียดจะมีใบมีลักษณะคล้ายเข็มขัด ( straplike leaves ) เมื่อใบมารวมกันเป็นกลุ่มที่ฐานใบ ใบที่รวมกันจะทำให้เกิดเป็นถ้วยรับน้ำ การเก็บน้ำที่อยู่ในถ้วยจะเป็นตัวช่วยให้พืชสามารถอยู่รอดได้ในฤดูแล้ง ซึ่งสามารถเก็บน้ำได้ในปริมาตรเท่ากับถ้วยกาแฟหรือจนถึงหลาย ๆ แกลลอน แมลงที่ตาย เศษใบที่เน่าเปื่อยที่สะสมอยู่ในน้ำจะเป็นธาตุอาหารสำหรับพืช ยังแหล่งน้ำสำหรับสัตว์ที่อยู่บนเรือนยอดไม้ เช่น ตุ๊กแก หรือลิงที่ผ่านมาจะหยุดกินน้ำ ยุงจะวางไข่ในน้ำที่ต้นบรอมีเลียดกักไว้ มดจะสร้างรังในก้านใบเพื่อที่ใช้ในการล่าเหยื่อที่เป็นแมลงที่เข้ามาที่แหล่งน้ำ กบศรพิษจะไม่ใช่สัตว์ที่มาที่บรอมีเลียดบ่อยๆ การขยายพันธุ์จะเริ่มจากหุ้มไข่ให้พ้นจากศัตรูโดยการฝังไข่ไว้ใต้ใบไม้ที่ทับถมกันที่พื้นป่า เมื่อลูกอ๊อดออกจากไข่ กบศรพิษเพศผู้จะแบกลูกอ๊อดขึ้นบนหลังแล้วกระโดดขึ้นไปบนต้นไม้ที่ต้นบรอมีเลียดเจริญอยู่ และจะเอาลูกอ๊อดของตัวเองปล่อยลงส่วนที่มีน้ำขังของต้นโบมีเลีย และมีกบศรพิษบางชนิดจะกลับมาที่บรอมีเลียดเพื่อวางไข่ที่ไม่ได้รับการผสมให้เป็นอาหารของลูกอ่อน

สัตว์บนเรือนยอดของต้นไม้ ( Animal of the canopy )[edit]

         เรือนยอดของต้นไม้ในพื้นป่าเขตร้อนเป็นส่วนที่มีความสำคัญ  เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่สิ่งมีชีวิตมีโอกาสได้สัมผัสกับแสงแดดและสายฝน  เป็นบริเวณที่ต้นไม้ออกดอก  ออกผล  เป็นที่รวมของฝูงนกแก้ว  ฝูงลิง  หรือสัตว์ชนิดอื่น ๆ ที่มากินผลไม้และใบไม้เป็นอาหาร 

นอกจากเป็นพื้นที่ที่สัตว์มาใช้พื้นที่ทำกิจกรรมต่างๆ แล้ว ลำต้น กิ่งก้านของต้นไม้ในส่วนเรือนยอดจะมีพืชในกลุ่มอีพิไฟต์ ( Epiphyte ) เช่น เฟิร์น กล้วยไม้ มอส บรอมีเลียดเจริญเติบโตขึ้นได้เป็นอย่างดี โดยส่วนรากของพืชกลุ่มนี้จะไม่สัมผัสดินหรือน้ำใต้ดิน แต่จะใช้การดูดซับเอาธาตุอาหารจากฝน ฝุ่นละอองและชิ้นส่วนเล็ก ๆ ของสัตว์ ถ้ามีการลอกเอาพืชกลุ่มอีพิไฟต์ออกจากต้นไม้ขนาดใหญ่เพียงต้นเดียวอาจมีน้ำหนักหลายตัน

ลิงมีหาง (Monkeys) และลิงไม่มีหาง ( Apes.)[edit]

มนุษย์ ลิงไม่มีหาง ลิงมีหาง สัตว์ชนิดที่กล่าวมานี้เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่ในอันดับไพรเมต ( order primate ) สัตว์ในอันดับนี้จะมีลักษณะดวงตาทั้ง 2 ข้างจะอยู่ด้านหน้าของกระโหลก ( binocular eyesight ) สัตว์สังคมที่อยู่กันเป็นฝูง ลิงที่อยู่ในป่าเขตร้อนประกอบด้วยลิงมีหาง ( monkeys ) ลิงไม่มีหาง ( apes) ลีเมอร ( lemurs ) ทาร์เชีย ( tarsier ) มาร์โมเสท ( mamosets ) และทาร์มารีน ( tarmarins ) การเคลื่อนที่ของลิงระหว่างต้นไม้ที่ระดับสูงของเรือนยอดไม้ภายในอาณาเขตตนเองเพื่อหาอาหาร ซึ่งจะเป็นการเคลื่อนในระดับความสูงของเรือนยอดไม้ มีลิงบางชนิดที่มีลักษณะการเคลื่อนที่ด้วยการโยนตัวผ่านกิ่งไม้ที่อยู่ต่อเนื่องกัน โดยใช้ความยืดหยุ่นของหัวไหล่ที่ประกอบด้วยกล้ามเนื้อและกระดูกข้อต่อ เป็นส่วนช่วยให้ส่วนของหัวไหล่เกิดการหมุนครึ่งหนึ่งพร้อมกับการโยนตัวไปข้างหน้า ลักษณะการเคลื่อนที่แบบนี้เรียกว่า Branchiation Branchiator ซึ่งหมายถึงผู้ที่เคลื่อนที่ด้วยวิธี brachiation ลิงที่มีการเคลื่อนที่แบบนี้จะมีนิ้วที่ยาวที่ใช้ในการเกาะจับและปล่อยกิ่งไม้อย่างรวดเร็ว ในกลุ่มลิงขนาดเล็กที่มีน้ำหนักเบา ขายาว มักจะใช้การเคลื่อนที่โดยการกระโดด เพื่อช่วยในการทรงตัวชนิดของลิงที่มีการกระจายพันธุ์ในทวีปอเมริกาส่วนใหญ่จะมีหางในลักษณะที่เรียกว่า prehensile tail .หมายความว่า หางที่สามารถจับเถาวัลย์หรือกิ่งไม้ การปรับตัวอีกประการหนึ่งของกลุ่มไพรเมต คือ การที่ลูกตาทั้งสองข้างอยู่ด้านหน้า ของกะโหลก จะทำให้ภาพที่เห็นจะเป็นภาพที่มี 3 มิติคือภาพมีความกว้าง x ยาว x ลึก หรือที่เรียกว่า Stereoscopic vision ที่จะช่วยในการกำหนดระยะในการเคลื่อนที่อย่างถูกต้อง เช่น เมื่อจะต้องเหวี่ยงตัวและกระโดดจากกิ่งไม้หนึ่งไปยังอีกกิ่งหนึ่ง รวมทั้งการวางตำแหน่งของลูกตาในลักษณะดังกล่าวจะทำให้ปริมาตรของสมองในกะโหลกศีรษะของสัตว์ในอันดับไพรเมตมีมากขึ้น และปากที่มีลักษณะไม่ยื่นยาวออกไปในแบบของสุนัขจะมีผลให้ลดพื้นที่ของโพรงจมูกลงทำให้ความสามารถในการดมกลิ่นลดลง ==== ลิงสไปเดอร์ ( Spider Monkeys ) ==== เป็นลิงที่เคลื่อนที่ได้อย่างคล่องแคล่วที่สุด ในบรรดาลิงในป่าเขตร้อนของทวีปอเมริกาใต้และอเมริกากลาง กินผลไม้เป็นอาหารหลัก อาหารชนิดอื่นๆ ที่กินด้วยเช่น ใบไม้ เมล็ดพืช แมลง ไข่นก หากินเป็นฝูงขนาดเล็กหรือบางตัวก็อยู่ตามลำพัง ในกรณีที่มีผลไม้สุก เช่น ลูกไทรสุก จะพบลิงสไปเดอร์หลายฝูงมากินผลไม้รวมกัน 20 – 30 ตัว เป็นลิงที่ชอบส่งเสียงร้อง ลักษณะเสียงคล้ายเสียงม้าร้อง ซึ่งเสียงร้องกลับเป็นอันตรายที่ทำให้ศัตรูผู้ล่ารู้ว่าลิงสไปเดอร์อยู่ที่ไหน และคนพื้นเมืองก็มาล่าลิงเป็นอาหาร ส่วนบนยอดไม้ศัตรูผู้ล่าก็จะเป็นเหยี่ยวและนกอินทรี ==== ลิงวูลลี่ ( Wooly Monkey ) ==== เป็นลิงอีกชนิดหนึ่งที่ใช้หางแบบยึดจับกับกิ่งไม้ ลิงชนิดนี้กินใบไม้และผลไม้เป็นอาหารหลัก ลงมาที่พื้นดินน้อยมาก ขนยาวและหนากว่าลิงสไปเดอร์ พบพฤติกรรมลิงต่อสู้กันเพื่อแย่งชิงอาหารและพื้นที่

หางแบบยึดจับ ( Prehensile Tails )[edit]

    มีสัตว์ประจำถิ่นของทวีปอเมริกาหลายชนิด เช่น ลิง และโอปัสซัม ( opossum ) จะมีลักษณะหางยาว  เพื่อช่วยในการดำรงชีวิตบนต้นไม้  โดยหางจะมีกล้ามเนื้อเข้าไปเป็นส่วนประกอบ  และประมาณ 1/4 ส่วนของความยาวหางจากส่วนปลาย ด้านล่างจะไม่มีขนเพื่อช่วยในการเกาะที่ดี  
    ลิงที่มีหางแบบยึดจับนี้จะใช้หางเหมือนกับมือที่ห้าช่วยในการจับและแขวนตัว  มีการใช้หางในการโยนตัวจากกิ่งไม้หนึ่งไปยังอีกกิ่งไม้หนึ่ง  โดยช่วงที่โยนตัวจะปล่อยมือและขาจากกิ่งไม้  ลิงฮาวเลอร์  ลิงสไปเดอร์ ลิงวูลลี่จะใช้หางยึดเกาะโดยทิ้งน้ำหนักตัวทั้งหมด ใช้เพียงหางอย่างเดียวยึดเกาะไว้ในขณะที่กินอาหาร

ลิงในทวีปแอฟริกามีหางแต่ไม่ได้เป็นแบบจับยึด ส่วนลิงเอฟ ( ape ) ไม่มีหาง นักวิทยาศาสตร์ได้ให้ทฤษฎีสำหรับลักษณะหางจับยึดในลิงในทวีปอเมริกาว่าเพื่อช่วยในกรณีที่ลิงต้องการยื่นมือไปเก็บยอดใบไม้อ่อน ดอกไม้ ผลไม้ที่อยู่ปลายของกิ่งก้าน ทำให้ลิงกลุ่มนี้จะมีความสามารถในการแย่งชิงอาหารกับค้างคาวและนกได้มากยิ่งขึ้น

อ้างอิง[edit]

Zoo Animals: A Smithsonian Guide (Smithsonian Guides Series) Robinson, Michael H.; Challinor, David; Webber, Holly